วรรณกรรม

เขียนหนังสือประเภทวรรณกรรมเยาวชนต้องเริ่มต้นตรงไหนเขียนหนังสือประเภทวรรณกรรมเยาวชนต้องเริ่มต้นตรงไหน

0 Comments

สำหรับใครก็ตามที่หลงใหลและหลงรักในการเขียนงานวรรณกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนวรรณกรรมประเภทวรรณกรรมเยาวชนซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของงานประเภทนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยจินตนาการรวมไปถึงการถ่ายทอดเรื่องราวโดยที่กลุ่มผู้อ่านจะเป็นเด็กอายุประมาณ 8 ถึง 12 ปีไปจนถึง 14-21 ปีซึ่งคนทั้งสองกลุ่มนี้ย่อมต้องมีข้อคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์และเรื่องอายุที่แตกต่างกันนั่นเองดังนั้นถ้าหากคุณกำลังเป็นนักเขียนที่กำลังจะเริ่มต้นกับการเขียนงานประเภทวรรณกรรมเยาวชนแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหนวันนี้ลองมาดู guideline เหล่านี้ กัน สิ่งที่สำคัญที่ควรพิจารณาและวางโครงเรื่องสำหรับการเขียนวรรณกรรมเยาวชน อายุของกลุ่มผู้อ่านเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดขอบเขตของเรื่องราวที่เรากำลังจะถ่ายทอดดังนั้นการวางโครงเรื่องเราจึงต้องกำหนดกลุ่มคนอ่านขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก เรื่องตลาดหรือปัจจัยทางสังคมและความทันสมัยเป็นสิ่งที่สำคัญในการวางแผนการเขียนซึ่งถ้าหากเราต้องการให้งานเขียนของเราขายได้จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดกำลังต้องการ ต้นฉบับของงานเขียนควรคำนึงถึงตัวละครส่วนใหญ่ว่ามีอายุเท่าไหร่ซึ่งโดยปกติแล้วนักอ่านที่มีอายุน้อยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือวัยรุ่นก็มักจะอ่านหนังสือที่ตัวละครมีอายุเท่าๆกันหรือมากกว่านิดหน่อย ภาษาหรือสไตล์ในการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของนักเขียนแต่เราก็ต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้อ่านด้วยและแน่นอนว่าการเขียนเป็นเรื่องของศิลปะไม่มีกฎตายตัวหรือข้อเคร่งครัดในๆแต่เรื่องของการนำเสนอจำเป็นที่จะต้องน่าสนใจเนื้อหาแปลกใหม่และตรงตามความต้องการของผู้อ่านรวมถึงจะต้องมีการเขียนบรรยายในแง่มุมความคิดต่างๆตามแนวของวรรณกรรมประเภทที่ตัวเองเขียนยกตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือวรรณกรรมแนวแฟนตาซีที่ได้รับความนิยมจนถูกนำมาทำหนังเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ถึงแม้ว่าจะเป็นวรรณกรรมเยาวชนแต่ก็มีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาวมากแต่เมื่อเรามองไปที่เนื้อเรื่องเราจะเห็นว่าตัวละครเป็นตัวละครเด็กกลุ่มอายุในช่วงที่กำลังเรียนระดับมัธยมดังนั้นจึงทำให้กลุ่มผู้อ่านเป็นกลุ่มคนเดียวกัน เมื่อทำต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราพักต้นฉบับนั้นไว้สักพักระหว่างรอตรวจแก้ไขครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เราลืมเรื่องราวที่เราเขียนและกลับมาอ่านใหม่อีกครั้งและตรวจสอบดูว่ารุ่นราวเหล่านั้นมีเนื้อหาที่ดีแล้วหรือยังหรือถ้าหากใครที่มีเพื่อนเป็นนักอ่านสามารถให้เพื่อนช่วยตรวจสอบต้นฉบับและดูความน่าสนใจในเรื่องที่เราเขียนได้เราจะได้แง่คิดและมุมมองของกลุ่มคนที่เป็นผู้อ่านจริงๆมากกว่าการที่เรานั่งอ่านเอง มานี่คือเทคนิคหรือเคล็ดลับสำหรับการเขียนงานประเภทวรรณกรรมเยาวชนแต่เราก็สามารถที่จะนำไปปรับเป็นงานเขียนประเภทวรรณกรรมได้หลากหลายแขนง 


วรรณกรรม

การเขียนวรรณกรรมแบบญี่ปุ่นการเขียนวรรณกรรมแบบญี่ปุ่น

0 Comments

งานวรรณกรรมถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่มีเนื้อหาสร้างความบันเทิงสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้ที่ได้อ่านหรือได้รับชมซึ่งในส่วนของวรรณกรรมไทยก็มีหลากหลายรูปแบบแต่สิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือวรรณกรรมไม่ได้มีอยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้มีการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมขึ้นมากมายตามแบบฉบับของญี่ปุ่นซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องราวหรือ  เรื่องเล่าโดยในลักษณะการเขียนวรรณกรรมของญี่ปุ่นที่สำคัญสำหรับการเขียนโครงการ  วรรณกรรมแบบฉบับเยาวชนของญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นแต่ก็ต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลมาประกอบกันอย่างจริงจังโดยที่จะต้องสามารถยกเอาสภาพปัญหาสังคมของญี่ปุ่นมาผนวกเข้ากับเรื่องเล่านั้นๆได้ วรรณกรรมฉบับเด็กและหนังสือผู้ใหญ่ต้องมีความใกล้กันมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนแต่ถึงอย่างไรก็ตามเด็กจะมีสายตาที่ด้อยประสบการณ์กว่าผู้ใหญ่เสมอดังนั้นมักเขียนจึงจะต้องสื่อภาพในระดับสายตาที่เด็กมองเห็นได้ ในการเขียนวรรณกรรมแบบญี่ปุ่นไม่ว่าฉากของเรื่องจะมีความหม่นหมองหรือเศร้าใจรันทดใจมากแค่ไหนสุดท้ายแล้วจะต้องหลงเหลือความหวังบางอย่างเอาไว้ให้ชีวิตได้คิดและดำเนินต่อไป การเขียนวรรณกรรมแบบฉบับญี่ปุ่น เริ่มต้นจากการกำหนดแก่นเรื่องโดยที่การวางขอบเขตของโครงเรื่องไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรและจบลงตรงไหนซึ่งบางคนอาจจะเลือกจากเรื่องที่ตัวเองสนใจในขณะนั้นเอามาเขียนและบอกเล่าหรืออาจจะได้ไอเดียจากเว็บแรกที่คิดขึ้นระหว่างเดินทางหรือในขณะอาบน้ำก็เป็นไปได้เช่นกันแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลมาประกอบเรื่องราวเหล่านั้นอย่างจริงจัง นักเขียนวรรณกรรมเยาวชนเป็นคนจริงจังมากสำหรับชาวญี่ปุ่น  อย่างที่เราได้ชวนไปในตอนต้นว่าการเขียนแบบฉบับญี่ปุ่นจะต้องมีการนำเอาแนวความคิดและสภาพสังคมรวมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจริงมาผนวกกันไว้ได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวและมีเนื้อหาสาระดังนั้นในส่วนของการเป็นนักเขียนวรรณกรรมและเขียนงานเยาวชนของคนญี่ปุ่นนั้นจึงต้องลงไปคลุกคลีกับข้อมูลต่างๆเพื่อให้ได้แก่แพ้และเรื่องราวอันเป็นจริงเพื่อนำมาประกอบการเขียน ในส่วนของการกำหนดเนื้อหาหรือการเขียนตามแบบฉบับญี่ปุ่นไม่ได้มีการกำหนดหรือมีกฎตายตัวว่าจะต้องเขียนแบบไหนซึ่งความแตกต่างระหว่างการเขียนหนังสือเด็กกับหนังสือผู้ใหญ่จึงต้องสะท้อนให้คนสองกลุ่มสามารถมองเห็นในภาพที่ตัวเองดื่มธนาการได้จากประสบการณ์ซึ่งในกรณีนี้ภาพมุมมองของเด็กที่มีต่อทะเล อาจจะไม่เท่ากับภาพที่ผู้ใหญ่มองเห็นก็ได้นั่นเอง  ดังนั้นในการเขียนงานวรรณกรรมตามแบบฉบับญี่ปุ่นการสะท้อนความคิดและจินตนาการให้เห็นภาพในเรื่องที่กำลังเล่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของนักเขียนที่จะต้องแสดงออกมาให้ได้มากกว่าการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาเสียอีก


วรรณกรรม

รู้เรื่องวรรณกรรมกับความหมายที่สำคัญรู้เรื่องวรรณกรรมกับความหมายที่สำคัญ

0 Comments

พูดถึงเรื่องวรรณกรรมเป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่สมัยเรียนซึ่งมีส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญในวิชาเรียนภาษาไทยที่เราจะคุ้นชินกันเป็นอย่างดีซึ่งวรรณกรรมมีความหมายถึงวรรณคดีหรือศิลปะอันเป็นผลงานซึ่งเกิดขึ้นจากการคิดและการจินตนาการจากนั้นถูกนำมาเรียบเรียงและนำมาบอกเล่าผ่านการบันทึกและขับร้องหรือออกมาด้วยกลวิธีต่างๆของคนในยุคสมัยก่อนซึ่งโดยทั่วไปแล้วในส่วนของวรรณกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือวรรณกรรมที่เป็นลายลักษณ์หมายถึงวรรณกรรมที่ถูกบันทึกไว้เป็นตัวอักษร  และประเภทที่ 2 คือวรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่วรรณกรรมที่เล่า บอกต่อกันเป็นเรื่องราวแต่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนั่นเอง  ดังนั้นในส่วนของวรรณกรรมจึงค่อนข้างมีความหมายกว้างและมีความหลากหลายครอบคลุมไปถึงการบอกเล่าเรื่องประวัติศาสตร์นิทานและตำนานต่างๆทั้งเรื่องขำขันเรื่องสั้นและนวนิยายรวมไปถึงบทเพลงและคำคมต่างๆด้วยจึงเรียกว่าทุกหมวดหมู่ที่มีการ แสดงถึงศิลปะกลายเป็นส่วนสำคัญและเป็นงานวรรณกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งด้วยนั่นเอง วรรณกรรมที่เป็นผลงานในเชิงศิลปะ ที่สะท้อนออกมาโดยการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเรื่องราวต่างๆให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความเข้าใจระหว่างมนุษย์ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว วรรณกรรมยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือวรรณกรรมประเภทร้อยแก้วและวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง วรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว คือข้อความเรียงที่แสดงถึงเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆผ่านตัวอักษรและตัวหนังสือที่เราอ่านกันเป็นภาษาอ่านปกติ ส่วนวรรณกรรมประเภทร้อยกรองเป็นข้อความที่มีการใช้สัมผัสทำให้สัมผัสได้ถึงความหมายของภาพและสร้างจินตนาการของผู้ฟังให้เกิดขึ้นได้ง่ายและมากกว่าซึ่งในส่วนของร้อยกรองนั้นมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นโคลงฉันท์กาพย์กลอนและร่าย และเมื่อพูดถึงเรื่องของงานวรรณกรรมเราก็มักจะนึกถึงการขับเสภาบทเห่กล่อมรวมไปถึงศิลปะวัฒนธรรมไทยที่เกิดขึ้นในสมัยอดีตความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบร่มเย็น ต่างๆของสมัยก่อนเป็นต้นว่าสมัยรัชกาลที่  4 และรัชกาลที่ 5 ที่ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองของงานวรรณกรรมและมีการ แต่งบทร้อยแก้วร้อยกรองรวมไปถึงนิทานปรัมปราต่างๆเกิดขึ้นมากมายในยุคนี้จึงถือได้ว่านี่คือยุคแห่งการสร้างความบันเทิงเป็นสมัยที่มีความสนุกสนาน ซึ่งในส่วนของงานวรรณกรรมจึงเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยและคงจะอยู่กับเราไปอีกยาวนาน แต่สิ่งที่สำคัญก็คือคนรุ่นหลังที่จะยังคงอนุรักษ์วรรณกรรมและวัฒนธรรมของไทยเหล่านี้เอาไว้ให้อยู่กับเราไปอีกนานเท่านั้นได้หรือไม่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยการปลูกฝังและการให้ความสำคัญจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง