เขียนหนังสือประเภทวรรณกรรมเยาวชนต้องเริ่มต้นตรงไหน

Great Books for Great Readers  > Literature >  เขียนหนังสือประเภทวรรณกรรมเยาวชนต้องเริ่มต้นตรงไหน
วรรณกรรม
0 Comments

วรรณกรรม

สำหรับใครก็ตามที่หลงใหลและหลงรักในการเขียนงานวรรณกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนวรรณกรรมประเภทวรรณกรรมเยาวชนซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของงานประเภทนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยจินตนาการรวมไปถึงการถ่ายทอดเรื่องราวโดยที่กลุ่มผู้อ่านจะเป็นเด็กอายุประมาณ 8 ถึง 12 ปีไปจนถึง 14-21 ปีซึ่งคนทั้งสองกลุ่มนี้ย่อมต้องมีข้อคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์และเรื่องอายุที่แตกต่างกันนั่นเองดังนั้นถ้าหากคุณกำลังเป็นนักเขียนที่กำลังจะเริ่มต้นกับการเขียนงานประเภทวรรณกรรมเยาวชนแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหนวันนี้ลองมาดู guideline เหล่านี้ กัน

สิ่งที่สำคัญที่ควรพิจารณาและวางโครงเรื่องสำหรับการเขียนวรรณกรรมเยาวชน

  • อายุของกลุ่มผู้อ่านเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดขอบเขตของเรื่องราวที่เรากำลังจะถ่ายทอดดังนั้นการวางโครงเรื่องเราจึงต้องกำหนดกลุ่มคนอ่านขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก
  • เรื่องตลาดหรือปัจจัยทางสังคมและความทันสมัยเป็นสิ่งที่สำคัญในการวางแผนการเขียนซึ่งถ้าหากเราต้องการให้งานเขียนของเราขายได้จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดกำลังต้องการ
  • ต้นฉบับของงานเขียนควรคำนึงถึงตัวละครส่วนใหญ่ว่ามีอายุเท่าไหร่ซึ่งโดยปกติแล้วนักอ่านที่มีอายุน้อยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือวัยรุ่นก็มักจะอ่านหนังสือที่ตัวละครมีอายุเท่าๆกันหรือมากกว่านิดหน่อย
  • ภาษาหรือสไตล์ในการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของนักเขียนแต่เราก็ต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้อ่านด้วยและแน่นอนว่าการเขียนเป็นเรื่องของศิลปะไม่มีกฎตายตัวหรือข้อเคร่งครัดในๆแต่เรื่องของการนำเสนอจำเป็นที่จะต้องน่าสนใจเนื้อหาแปลกใหม่และตรงตามความต้องการของผู้อ่านรวมถึงจะต้องมีการเขียนบรรยายในแง่มุมความคิดต่างๆตามแนวของวรรณกรรมประเภทที่ตัวเองเขียนยกตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือวรรณกรรมแนวแฟนตาซีที่ได้รับความนิยมจนถูกนำมาทำหนังเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ถึงแม้ว่าจะเป็นวรรณกรรมเยาวชนแต่ก็มีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาวมากแต่เมื่อเรามองไปที่เนื้อเรื่องเราจะเห็นว่าตัวละครเป็นตัวละครเด็กกลุ่มอายุในช่วงที่กำลังเรียนระดับมัธยมดังนั้นจึงทำให้กลุ่มผู้อ่านเป็นกลุ่มคนเดียวกัน
  • เมื่อทำต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราพักต้นฉบับนั้นไว้สักพักระหว่างรอตรวจแก้ไขครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เราลืมเรื่องราวที่เราเขียนและกลับมาอ่านใหม่อีกครั้งและตรวจสอบดูว่ารุ่นราวเหล่านั้นมีเนื้อหาที่ดีแล้วหรือยังหรือถ้าหากใครที่มีเพื่อนเป็นนักอ่านสามารถให้เพื่อนช่วยตรวจสอบต้นฉบับและดูความน่าสนใจในเรื่องที่เราเขียนได้เราจะได้แง่คิดและมุมมองของกลุ่มคนที่เป็นผู้อ่านจริงๆมากกว่าการที่เรานั่งอ่านเอง

มานี่คือเทคนิคหรือเคล็ดลับสำหรับการเขียนงานประเภทวรรณกรรมเยาวชนแต่เราก็สามารถที่จะนำไปปรับเป็นงานเขียนประเภทวรรณกรรมได้หลากหลายแขนง